“กลุ่มเหล็กสหวิริยา” ร่วมกิจกรรมโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อมทิ้งซั้ง (ซั้งกอ) จัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึง ร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านปากคลอง อำเภอบางสะพาน โดยซั้งกอดังกล่าวทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายในน้ำได้ เพื่อให้เป็นแหล่งหลบภัยแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำให้สามารถเจริญเติบโต รวมทั้งเป็นการรณรงค์ให้ชุมชนร่วมกันรักษาทรัพยากรชายฝั่งและความมั่นคงทางอาหารให้มีความอุดมสมบูรณ์ สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนบางสะพาน โดยมีนายเลิศยศ แย้มพราย นายอำเภอบางสะพาน เป็นประธานในการเปิดโครงการครั้งนี้ ณ บ้านปากคลอง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในกิจกรรมดังกล่าวกลุ่มเหล็กสหวิริยาร่วมสนับสนุนงบประมาณ และน้ำดื่ม โดยมีนายประสิทธิ์ ภู่งาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึง เป็นผู้รับมอบ เช่นเดียวกับ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด หรือ “PPC” บริษัทในกลุ่มเหล็กสหวิริยา ร่วมสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว พร้อมเก็บขยะบริเวณชายหาดบ้านปากคลอง ปรับภูมิทัศน์ชายฝั่งทะเล เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเลอีกด้วย
กลุ่มเหล็กสหวิริยาร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน พัฒนาคลองวังนาค หมู่ 3 ตำบลกำเนิดฯ-สนับสนุนน้ำดื่มจิตอาสา
กลุ่มเหล็กสหวิริยาร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน“เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ร่วมปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนา กำจัดวัชพืชและสิ่งปฎิกูลในแหล่งน้ำ บริเวณคลองวังนาค หมู่ที่ 3 ตำบลกำเนิดฯ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายเลิศยศ แย้มพราย นายอำเภอบางสะพาน เป็นประธานในพิธี สำหรับกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน“เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ในครั้งนี้ ทางศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอบางสะพานจัดขึ้น เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีนาถโดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่อำเภอบางสะพานเข้าร่วมกว่า 100 คน ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้กลุ่มเหล็กได้ร่วมสนับสนุนน้ำดื่ม เพื่อมอบให้แก่จิตอาสาในกิจกรรมดังกล่าว
เอสเอสไอพัฒนาต่อเนื่องแหล่งเรียนรู้ชุมชนทวิภาคี31นศ.การอาชีพบางสะพานเริ่มฝึกงานลับคม2565
บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ต้อนรับและจัดปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงาน ภายใต้โครงการ โครงการทวิภาคีพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล็กรุ่นที่ 15 ประจำปี 2565 โดยมีนักเรียนนักศึกษาระบบทวิภาคี จากวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จาก 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ เข้าร่วมการฝึกประสบการณ์การทำงานใน บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI จำนวน 31 คน ระยะเวลาการฝึกงานตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 จนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัดโครงการทวิภาคีพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล็ก เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ “กลุ่มเหล็กสหวิริยา” และสถานศึกษา “วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน” ในการร่วมกันจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training) เพื่อเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระบบทวิภาคีให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ “กลุ่มเหล็กสหวิริยา” สร้างโอกาสในการเข้าทำงานให้แก่เยาวชนบางสะพาน อันนำไปสู่การสร้างอาชีพที่มั่นคง โดยปัจจุบันมีนักเรียนนักศึกษาในโครงการฯ [15รุ่น] จำนวนทั้งสิ้น 764 คน ในจำนวนนี้เข้ามาร่วมปฏิบัติงานกับกลุ่มเหล็กสหวิริยา จำนวน 207 คน
เหล็กสหวิริยาร่วมสนับสนุน-เรียนรู้“แอคทีฟเลิร์นนิ่ง”ความร่วมมือ”สาธิตปทุมวัน-ศูนย์ส่งเสริมฯกลุ่มร.ร.ธงชัย”
กลุ่มเหล็กสหวิริยา โดยนางนฤมล สุภาพงษ์ ผู้จัดการอาวุโส ชุมชนสัมพันธ์ (ด้านสังคม) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ร่วมกิจกรรมและสังเกตุการณ์การจัดอบรมโครงการ “พัฒนาและสร้างสรรค์เพื่อสังคมและความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา กลุ่มโรงเรียนธงชัย” เพื่อฝึกอบรมพัฒนาครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การสร้างสื่อดิจิตอลเพื่อการศึกษา พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งทิวา แย้มรุ่ง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นประธานในพิธี นายโชติวิทย์ ธรรมสุจิตร ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน กล่าวรายงานโครงการฯ และ นายมังกรแก้ว ดรุณศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านกรูด อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากการร่วมกิจกรรมเพื่อนำมาพัฒนาแผนงานด้านการศึกษาให้กับชุมชนบางสะพานแล้ว กลุ่มเหล็กสหวิริยายังได้สนับสนุนอาหารว่างและเครื่องดื่มอีกด้วยกิจกรรมการฝึกอบรมโครงการพัฒนาและสร้างสรรค์เพื่อสังคมและความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา กลุ่มโรงเรียนธงชัย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2565 โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาจากกลุ่มโรงเรียนธงชัย ประกอบไปด้วย โรงเรียนวัดดอนยาง โรงเรียนบ้านหนองระแวง โรงเรียนบ้านหนองมงคล โรงเรียนวัดถ้ำคีรีวงศ์ และโรงเรียนวัดธงชัยธรรมจักร เข้าร่วมการอบรม จำนวน 70 คน และทีมวิทยากรบรรยายให้ความรู้ดำเนินการฝึกอบรม จำนวน 30 คน
เลขาสมอ.เยี่ยมหมู่บ้านอุตฯสร้างสรรค์ทุ่งประดู่เอสเอสไอร่วมสนับสนุนเพิ่มมูลค่าให้ทุนชุมชน
นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) พร้อมคณะผู้บริหาร(สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม นายนาวา จันทรสุรคน กรรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (เอสเอสไอ) ร่วมตรวจเยี่ยมหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์(CIV) บ้านทุ่งประดู่ ต.ทับสะแก จ.ประจวบฯ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่นำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มาประยุกต์ต่อยอดให้เกิดมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจบนแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมท่องเที่ยว อาทิ ฐานกิจกรรมห่มทรายคลายเครียด นับว่าเป็นเป็นไฮไลท์ของหมู่บ้านทุ่งประดู่ รวมถึงกิจกรรมนวดแผนไทย กิจกรรมเรียนรู้โรงสีข้าวและปลูกข้าวแบบผสมผสานและเยี่ยมชมสวนมะพร้าวลุงบูรณ์ ทั้งนี้ทางคณะได้ร่วมรับประทานอาหารเมนูพื้นบ้านของบ้านทุ่งประดู่อีกด้วย ทั้งนี้หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) บ้านทุ่งประดู่ เป็นโครงการที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมสนับสนุนโดยกลุ่มเหล็กสหวิริยา หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) หมายถึง หมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนวัฒนธรรม วิถีชีวิตมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ของสินค้าที่ระลึกจากชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวให้เกิดมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจบนแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างรากฐานชุมชนให้แกร่งมาจาก “ข้างใน” พัฒนาก้าวสู่ชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนในแทบทุกมิติ ทั้งด้านสินค้าและการบริการ ในแนวคิดการดำเนินงาน ประกอบด้วย อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน