นายมนินทร์ อินทร์พรหม ผู้บริหารกลุ่มเหล็กสหวิริยา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงานบริษัทในกลุ่มเหล็กสหวิริยา ร่วมมอบเงินสมทบเพื่อจัดซื้อเตียงเหล็กพร้อมอุปกรณ์ฟูกที่นอนและหมอน มอบให้แก่โรงพยาบาลบางสะพาน มูลค่ารวมกว่า 150,000 บาท โดยมีนายแพทย์เชิดชัย ชยวัฑโฒ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพาน เป็นผู้รับมอบ ณ โรงพยาบาลสนาม ต.พงศ์ประศาสน์ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยในครั้งนี้ผู้บริหารและพนักงานกลุ่มเหล็กสหวิริยาได้ร่วมกันสบทบเงินจำนวน 150,000 บาท แบ่งเป็นเงินจากพนักงานจำนวน 140,168 บาท และบริษัทร่วมสมทบเพิ่มเติม 9,832 บาท ซึ่งเป็นกิจกรรมความร่วมมือในโครงการกลุ่มเหล็กสหวิริยาร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19 ร่วมจัดซื้อเตียงเหล็กพร้อมอุปกรณ์ ไว้ใช้ ในโรงพยาบาลสนามในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน
SSI เหล็กรักษ์โลกรวบรวมส่งแล้วขยะอิเล็กทรอนิกส์ลอตแรก“คนไทยไร้ E-Waste“
ตามที่บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ “เอสเอสไอ” ได้ร่วมกับบริษัทต่างๆ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) เข้าร่วมดำเนินงานด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) อย่างถูกวิธี ภายใต้โครงการคนไทยไร้ E-Waste ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ด้วยการเข้าร่วมเป็นจุด Drop Point รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ส่วนตัวของบุคลากรภายในองค์กรนั้น
ณ วันที่ 7 มีนาคม 2565 บริษัทฯ ได้รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ จากทั้งสำนักงานกรุงเทพฯ และโรงงานบางสะพาน เพื่อนำส่งโครงการลอตแรก ซึ่งพบว่าพนักงานให้ความร่วมมือในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้งานแล้วมาทิ้ง ประกอบไปด้วยขยะ 5 ประเภท ได้แก่ มือถือ/แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง พาวเวอร์แบงก์ แบตเตอรี่มือถือ ขยะดังกล่าวได้ถูกจัดส่งไปยังโครงการผ่านผู้ให้บริการไปรษณีย์ไทย โดยหลังจากนี้ขยะจะถูกส่งไปยังโรงงานคัดแยกที่ถูกวิธี ก่อนเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล จนสามารถนำกลับไปใช้งานได้ไหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดมลพิษ และร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน เอสเอสไอ มีจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1)เอสเอสไอ (สำนักงานกรุงเทพฯ) บริเวณชั้น 3 อาคารประภาวิทย์ และ 2)โรงงานเอสเอสไอบางสะพาน บริเวณจุดรอรถบัสหน้าโรงงาน
กลุ่มเหล็กสหวิริยา – ว.การอาชีพบางสะพานจัด Show & Share ประกวดสิ่งประดิษฐ์และสัมมนาวิชาการโครงการทวิภาคี รุ่นที่ 14
กลุ่มเหล็กสหวิริยา สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training) วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน จัดกิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์และสัมมนาวิชาการ Show & Share ภายใต้โครงการ “ทวิภาคีพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล็ก” รุ่นที่ 14 ประจำปีการศึกษา 2564 โดยเปิดเวทีให้นักเรียน-นักศึกษา ระบบทวิภาคี วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ที่เข้ามาฝึกอาชีพในกลุ่มเหล็กสหวิริยา ได้มีโอกาสคิดค้นและนำเสนอผลงานสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ชิงเงินรางวัลจากกลุ่มเหล็กสหวิริยา โดยมีนักเรียน-นักศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด จำนวน 26 ชิ้นงาน และมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากกลุ่มเหล็กสหวิริยา จำนวน 4 ท่านเข้าร่วมประเมินผลและพิจารณาตัดสินผลงาน ผ่านรูปแบบออนไลน์ (ระบบ Google meet) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19
กิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์และสัมมนาวิชาการ Show & Share เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้โครงการ “ทวิภาคีพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล็ก” ตามบันทึกข้อตกลงของกลุ่มเหล็กสหวิริยา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ในการร่วมกันพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน พัฒนาฝีมือ ความรู้ และความสามารถ ของนักเรียนและนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเหล็กสหวิริยา โดยปัจจุบันมีนักเรียนและนักศึกษาในโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 764 คน กลับเข้ามาร่วมงานกับกลุ่มเหล็กสหวิริยา จำนวน 207 คน
กลุ่มเหล็กสหวิริยาตอบสนองนโยบายก.แรงงาน สนับสนุนจ้างงานคนพิการเชิงสังคมจำนวน 26 คน
กลุ่มเหล็กสหวิริยาตอบสนองโครงการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ตามมาตรา 35 ประเภทจ้างเหมาบริการ ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ดำเนินการจ้างงานคนพิการภายใต้โครงการดังกล่าว จำนวน 26 คน ในการงานสนับสนุนในหน่วยบริการสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ชุมชนใกล้บ้านผู้พิการ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ ศูนย์บริการคนพิการของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้คนพิการมีงานทำ เกิดรายได้เลี้ยงดูครอบครัว พร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม นอกเหนือจากนี้ กลุ่มเหล็กสหวิริยายังได้ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 33 ในตำแหน่งที่เหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ จำนวน 5 คน ซึ่งทั้งหมดปฏิบัติงานที่โรงงานในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมอีกด้วย ทั้งนี้ ตามพ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จ้างคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วน 100 : 1 หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในอัตรา 114,245 บาทต่อปี ตามจำนวนคนพิการที่ไม่ได้จ้าง ซึ่งกองทุนฯจะนำเงินดังกล่าว ไปส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อไป อย่างไรก็ดีในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย รวมทั้งกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มคนพิการ ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือให้คนพิการมีงานทำ มีรายได้สามารถดูแลตนเองและครอบครัว โดยได้รับการจ้างงานจากสถานประกอบการในรูปแบบอื่น ที่เป็นทางเลือกตามกฎหมายและสามารถดำเนินการได้ จึงส่งเสริมให้สถานประกอบการเลือกใช้วิธีการจ้างเหมาบริการคนพิการปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็น 1 ในกิจกรรมการดำเนินการตามมาตรา 35 ที่จะทำให้คนพิการเกิดรายได้ทันที สามารถมีงานทำและได้รับการจ้างงานโดยตรง
SSIแชร์ผลงานร่วมมจธ.จัดหลักสูตรไอที พัฒนาสมรรถนะบุคลากรรับยุคดิจิตอล
นายณรงค์ฤทธิ์ โชตินุชิตตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับจากความร่วมมือทางวิชาการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีระหว่างเอสเอสไอและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผ่านหลักสูตร Digital Service Innovation (DSI): School of Information Technology (School of IT) ภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจเยี่ยมติดตามโครงการฯ โดยมี ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านต่างๆที่ต้องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรยุคดิจิทัล พร้อมกับผลิตบุคลากรที่สามารถทำงานได้จริงในสภาพแวดล้อมที่เทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้กับงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพผ่าน School of IT โดยจัดการเรียนการสอนให้กับพนักงานระดับบริหารของเอสเอสไอจำนวน 56 คน ใน 5 หัวข้อการเรียนรู้ประกอบด้วย 1. Digital Transformation 2. Digital Service 3. Information Management (1) 4. Information Management (2) และ 5 Digital Project มีระยะเวลาเรียนทั้งสิ้น 90 ชั่วโมง โดยหลังจากการเรียนรู้พนักงานสามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานของตนเองได้และพัฒนาต่อยอดเป็นโมเดลธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เช่น การสร้างแอพพลิเคชั่นคำนวณต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และการคำนวณค่าใช้จ่ายการเดินทางของพนักงาน เป็นต้น