Hamburger crisis and stock loss caused SSI 2008 loss of Bt. 5.13 billion. But SSI remains confident of its financial stability, targeting Bt.300 million cost saving and sales growth in 2009, supported by market recovery, lower energy cost and high rolling spread.
Mr. Win Viriyaprapaikit, President of Sahaviriya Steel Industries Public Company Limited (“SSI”) declared that in the year 2008, the Company and its subsidiaries reported sales revenues of Bt.27.45 billion, income from services of Bt. 0.31 billion, total revenues of Bt.27.89 billion, and a net loss of Bt.5.13 billion, down 714% from last year representing a net loss of Bt.0.39 per share.

In the year 2008, the Company suffered from sharp drop of steel prices caused mainly by the global financial crisis. With its conservative policy, the Company recorded a prudent Bt.5.4 billion loss on provision for diminution in value of inventories (stock loss) according to the accounting standard, resulting in a net loss of its 2008 results, just like other major industrial sectors such as energy and petrochemical which were hit by high stock loss provision as raw material and oil price tumbled.

“We believe that this crisis would only happen once in a 100 year. It is the policy of our Board on good corporate governance which led to the writing down of steel inventory value at the maximum to the current market level as prescribed by accounting standard. The result of which shows the company’s real financial status which is still solid with shareholders’ equity as of 31 December 2008 of Bt.16.6 billion and book value per share of Bt.1.27, almost 4 times higher than our market price of Bt.0.39. In addition, we are implementing Bt.300 million cost-saving programs across the organization consisting of reduction of direct and indirect expenses, energy conservation projects, the review and adjustment of out-sourcing and sub-contracting arrangement, and manpower control. Most importantly, our directors and managements have voluntarily reduced some of their monthly personal income in order to show their responsibility and help ease any impact which may occur to our employees at operating level, resulting in a sense of stronger unity among our workforces during this difficult time.” said the President of SSI.

Mr.Win added that “global and domestic steel market have shown sign of recovery since there is an improvement of buyer’s demand stimulated by cheaper steel price. Mid-stream to down-stream producers, like SSI, will benefit from lower raw material price, freight rate and energy cost, while maintaining a good Rolling Spread (Production cost + Margin). Thus we are confident that our 2009 operating results will be restored and eventually offset last year’s stock loss”

SSI ขาดทุน 5.13 พันล้านบาทเหตุปรับมูลค่าสินค้าเหล็กจากพิษแฮมเบอร์เกอร์

เน้นธรรมาภิบาล-มั่นใจฐานะแกร่ง-พร้อมเดินหน้าด้วยต้นทุนต่ำ

พิษวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เอสเอสไอประกาศผลดำเนินงานปี 2551 ขาดทุน 5.13 พันล้านบาท จากการปรับมูลค่าสินค้าเหล็กให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ลดลงตามมาตรฐานทางบัญชีอย่างเต็มที่ตามนโยบายธรรมาภิบาลที่ดี มั่นใจฐานะทางการเงินยังแข็งแกร่ง พร้อมเดินหน้าโครงการประหยัดต้นทุน 300 ล้าน เชื่อปี 2552 ยอดขายกลับมา เพราะสัญญาณตลาดเหล็กฟื้น ต้นทุนลดลงในขณะที่ค่าการรีดอยู่ในระดับสูง

นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2551 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนรวม 27,448 ล้านบาท และมีรายได้จากการให้บริการรวม 309 ล้านบาท คิดเป็นรายได้รวมทั้งสิ้น 27,894 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 5,134 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 714 หรือคิดเป็นขาดทุนสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.39 บาทต่อหุ้น
สาเหตุที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทลดลงเนื่องจาก ในปี 2551 บริษัทได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำจากปัญหาวิกฤติระบบสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลงเป็นอย่างมาก และด้วยนโยบายการบริหารงานอย่างรอบคอบและระมัดระวัง บริษัทจึงได้ปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ลดลง ( Stock Loss) ตามมาตรฐานทางบัญชีอย่างเต็มที่จำนวน 5,440 ล้านบาท ทำให้ผลการดำเนินงานอยู่ในภาวะขาดทุน เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่อื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมพลังงาน และปิโตรเคมีที่ต้องมีการตั้งสำรองดังกล่าวในระดับสูงจากการที่ราคาน้ำมันและวัตถุดิบลดลง

“วิกฤติการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ 100 ปี ด้วยนโยบายของคณะกรรมการบริษัทในเรื่องธรรมาภิบาลที่ดี บริษัทจึงปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ลดลง (Stock Loss) ตามมาตรฐานทางบัญชีอย่างเต็มที่ ซึ่งเปิดเผยให้เห็นถึงสถานะทางการเงินที่แท้จริงของบริษัทที่ยังมั่นคง โดย ณ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทยังมีส่วนทุนจำนวน 16,608 ล้านบาท และมีมูลค่าหุ้นตามบัญชีเท่ากับ 1.27 บาทต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบันที่ 0.39 บาท นอกจากนี้ บริษัทได้ประกาศมาตรการลดต้นทุนในการดำเนินงานทั้งสิ้น 300 ล้านบาท ประกอบด้วย การลดค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม โครงการประหยัดการใช้พลังงาน การปรับเปลี่ยนสัญญาจ้างเหมา การควบคุมอัตรากำลังคน ประการสำคัญ คือ คณะกรรมการ และผู้บริหารต่างร่วมใจกันเสียสละลดรายได้บางส่วนลง เพื่อแสดงความรับผิดชอบและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานในระดับปฏิบัติการ เป็นการหล่อหลอมใจร่วมใจของเหล่าพนักงานเพื่อนำพาให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้” กรรมการผู้จัดการใหญ่กล่าว และเพิ่มเติมว่า

“ขณะนี้อุตสาหกรรมเหล็กโลกและภายในประเทศเริ่มส่งสัญญาณในทางที่ดี เนื่องจากราคาเหล็กที่ลดลงได้กระตุ้นความต้องการซื้อกลับมามากขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางน้ำถึงปลายน้ำสามารถซื้อวัตถุดิบในราคาที่ถูกลง ค่าขนส่งลดลง และต้นทุนพลังงานลดลง ขณะที่ “ค่าการรีด” (Rolling Spread) ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการผลิตบวกกำไรยังอยู่ในระดับที่ดี ทำให้บริษัทมั่นใจว่าผลการดำเนินงานในปี 2552 จะเป็นที่น่าพอใจและสามารถชดผลขาดทุนที่เกิดจากค่าตั้งสำรองค่าเผื่อการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานบัญชีได้ในที่สุด”

Leave a Reply