For more than four years that Sahaviriya Steel Industries Plc. or “SSI” has cultivated substantial culture of volunteerism throughout the organization, and expanded this concept to all stakeholders to participate in social contributions.
Since 2009, the beginning of the “SSI Arsa,” the project was set up and channeled its actions to apply management and planning system to social and community projects, especially in volunteering activities which will be held 4 times per year. This system is essential for SSI staff’s working life, as it helps Bangsaphan Community to reap the fruits from volunteering activities.
Today…SSI Arsa has grown and blossom into “A hundred goodness, A thousand hearts of SSI Arsa,” a project that provides people in community with chances to participate and cooperate actively with the SSI staff in many activities to improve their own community, together with local media, entrepreneurs and Bangsaphan youth.
There is no doubt that today Wannaporn Pollsakul and her SSI Arsa’s friends are happy and enjoy teaching primary school children P4-P6 at Ban Tha Kham School, Bangsaphan which has won the national eco-school award, to learn about “Steel in everyday life” as a part of the local curriculum which will increase the children’s knowledge.
The “knowledge” that cannot be obtained elsewhere.
It is the “knowledge” that exists in their locality.
เอสเอสไออาสา: จากแผนงานสู่การลงมือทำในวันนั้น จนถึงการแบ่งปันความรู้สู่เยาวชนในวันนี้
นับเป็นเวลากว่าสี่ปีแล้วที่การบ่มเพาะวัฒนธรรมจิตอาสาให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรของเอสเอสไอ หรือ บริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) เป็นรูปธรรมให้เห็นเด่นชัด และได้ขยายผลไปสู่ผู้มีส่วนได้เสียให้มีส่วนร่วมในการทำประโยชน์เพื่อสังคมและชุมชนให้มากยิ่งขึ้น
จากจุดเริ่มต้นในปี 2551 โครงการ “เอสเอสไออาสา” เกิดขึ้นด้วยภายใต้แนวคิดการนำระบบจัดการและการวางแผนมาประยุกต์ใช้กับโครงการเพื่อสังคมและชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมพนักงานอาสา ด้วยจำนวนกิจกรรมเอสเอสไออาสาพัฒนาชุมชนปีละ 4 ครั้ง ระบบจัดการและการวางแผนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการปฏิบัติงานของชาวเอสเอสไอนี้ ทำให้ชุมชนบางสะพานสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการดำเนินการกิจกรรมพัฒนาดังกล่าวได้มากที่สุด
วันนี้…เอสเอสไออาสาได้เติบโตเบ่งบานไปสู่ โครงการ “ร้อยความดี พันดวงใจ เอสเอสไออาสา” ที่เปิดโอกาสให้พี่น้องในชุมชนร่วมไม้ร่วมมืออย่างแข็งขันกับพนักงานอาสาพัฒนาท้องถิ่นอันเป็นบ้านเกิดของตนเองมากขึ้น เช่นเดียวกับกิจกรรมอาสาที่เป็นความร่วมมือกับสื่อมวลชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการร้านค้า และยุวชนบางสะพาน อีกหลายกิจกรรม
และไม่แปลกเลยที่วันนี้ วรรณพร พูลสกุล และเพื่อนพนักงานเอสเอสไออาสา กำลังมีความสุขและขมักเขม้นกับการเป็น “ครูอาสา”สอนน้องๆ ระดับชั้นประถม 4-6 โรงเรียนบ้านท่าขาม อำเภอบางสะพาน ซึ่งเป็นโรงเรียนเศรษฐนิเวศน์ (Eco-School) รางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษาของประเทศ ให้เรียนรู้เรื่อง “เหล็ก…ในชีวิตประจำวัน” อันเป็นส่วนเสริมในหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน ให้เด็กๆได้มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้น
เป็น“คลังความรู้”ที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่นใด
แต่เป็น“คลังความรู้”ที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน