หลักการและเหตุผล

               จากการสำนักประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ได้จัดทำโครงการ “เอสเอสไอ อาสา” โดยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน ด้วยการนำพนักงาน ออกไปร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ร่วมกับชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 ครั้งด้วยกัน มีพนักงานเข้าร่วมกว่า 900 คนและชุมชนเข้าร่วมกว่า 2,000 คน  เป็นการแสดงถึงจิตสำนึกที่ดีของพนักงาน ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน

รูปแบบของการจัดโครงการ “เอสเอสไอ อาสา” แต่เดิม จะเป็นการดำเนินการของสำนักประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์เพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น พนักงานสามารถมีส่วนร่วมเพียงแค่การเข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ทำให้พนักงานสามารถเข้าใจถึงรูปแบบกิจกรรมได้เป็นอย่างดี รวมถึงการสร้างสมประสบการณ์ร่วมกันในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนในองค์กร

ดังนั้น ในการพัฒนาโครงการ “เอสเอสไอ อาสา” ให้มีความยั่งยืน จำเป็นต้องให้พนักงาน เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการครั้งต่อ ๆ ไป ตั้งแต่เริ่มต้น โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจในงานมากขึ้น เพื่อให้พนักงานเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของกิจกรรม สร้างความผูกพันกับองค์กรให้มากขึ้น จึงเกิดโครงการ “ร้อยความดี พันดวงใจ เอสเอสไออาสา” เพื่อจัดรูปแบบกิจกรรมจิตอาสา ของแต่ละหน่วยงาน เป็นโครงการจิตอาสาย่อย ๆ ขึ้นภายในหน่วยงานของตน โดยมีงบประมาณสนับสนุบจากองค์กร ซึ่งคาดหวังว่าจะทำให้ความมีจิตอาสาของพนักงาน ได้ซึมซาบเข้าถึงยังพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น และสามารถมีส่วนร่วมกับองค์กรในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างยั่งยืน อันเป็นการสร้างนวัตกรรมแห่งค่านิยมด้วยจิตสำนึกของพนักงานในองค์กรที่สามารถแบ่งปันให้กับสังคมและชุมชนได้ต่อไป

วิธีดำเนินการและ ระยะเวลาดำเนินการ

                การดำเนินโครงการ “ร้อยความดี พันดวงใจ เอสเอสไออาสา” จะป็นโครงการจิตอาสาย่อย จัดต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้แต่ละฝ่ายเสนอโครงการเข้ามา โดยมีงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมครั้งละ 20,000 บาท ซึ่งโครงการจะต้องผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการโครงการจิตอาสาก่อน แล้วจึงมอบงบประมาณให้กับโครงการที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอมา

วัตถุประสงค์

     1. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและองค์กร

     2. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน และเสริมสร้างความร่วมมือของพนักงานในการร่วมพัฒนาถิ่นฐานที่อาศัย

     3. เสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีของพนักงานบริษัทฯในการทำประโยชน์และร่วมพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *