“ร้อยความดี พันดวงใจ” เอสเอสไอ อาสา ความดีที่ 11 ร่วมกันติดตั้งเสาและอุปกรณ์สนามวอลเล่ย์บอล ม.4 ต.พงศ์ประศาสน์ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ให้เยาวชน ประชาชนในพื้นที่ และชุมชนใกล้เคียง ได้ใช้เป็นสถานที่เล่นออกกำลังกายและฝึกซ้อมแข่งขันกีฬา เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการกีฬาและนันทนาการได้อย่างเสมอภาคและทั่วถึง
Tag Archives: เอสเอสไออาสา
เอสเอสไอ อาสา 17 สร้างหอกระโดดสูงเหล็กแห่งแรกในประเทศไทย
เอสเอสไอ อาสา 17 สร้างหอกระโดดสูงเหล็กแห่งแรกของประเทศไทย
บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ร่วมมือกับกองร้อยตำรวจตระเวณชายแดนที่ 147 ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ สร้างหอกระโดดสูงเหล็ก(แห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้วัสดุเหล็กทั้งหมด) เพื่อใช้สำหรับการฝึกเยาวชนในชุมชนที่มาเข้าค่ายพักแรมในการทดสอบความกล้าหาญ และสร้างขวัญกำลังใจที่เข้มแข็งให้กับเยาวชนในพื้นที่และนอกพื้นที่ โดยในแต่ละปีจะมีเยาวชนมาเข้าค่ายและสามารถใช้ประโยชน์จากหอกระโดดสูงแห่งนี้ จำนวนประมาณ 1,500 – 2,000 คน อีกทั้งยังเป็นการสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน โดยเน้นการใช้เหล็กที่บริษัทผลิตได้มาพัฒนากิจกรรมทางสังคม ผ่านรูปแบบโครงการเอสเอสไอ อาสา เป็นความรับผิดชอบทางสังคมที่มีเอกลักษณ์และแนวทางที่ชัดเจนสอดคล้องกับธุรกิจ
หอกระโดดสูง มีขนาดความสูง 34 ฟุต กว้าง 3 เมตร โครงสร้างของหอกระโดดสูงใช้เหล็กในการก่อสร้างทั้งหมด โดยนำเอาเหล็กจากวัสดุเหลือใช้จากกองซากมาใช้ในการก่อสร้าง สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้ถึง 80% จากราคาจ้างเหมาก่อสร้างที่มีมูลค่า 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาท) ซึ่งหอกระโดดสูงเหล็กแห่งนี้ใช้มูลค่ารวมประมาณ 1,218,211 บาท (หนึ่งล้านสองแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสองร้อยยี่สิบเอ็ดบาท) โดยได้ดำเนินงานด้านโครงสร้างสำเร็จไปแล้ว 90 % ที่เหลือจะเป็นส่วนของการเก็บรายละเอียดงานทาสีและงานปรุบปรุงภูมิทัศน์โดยรอบของหอกระโดดสูงเหล็ก
“ร้อยความดี พันดวงใจ” เอสเอสไอ อาสา ความดีที่ 3 สร้างตาข่ายกั้นสนามฟุตบอล ณ โรงเรียนบ้านถ้ำเขาน้อย ม.3 ต.กำเนินพคุณ
บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ จัดโครงการ “ร้อยความดี พันดวงใจ” เอสเอสไอ อาสา ความดีที่ 3 ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ โดยช่วยกันสร้างตาข่ายกั้นสนามรอบสนามฟุตบอลด้านฝั่งอาคารเรียนเพื่อป้องกันลูกฟุตบอลเข้าภายในอาคารเรียน ณ โรงเรียนบ้านถ้ำเขาน้อย ม.3 ต.กำเนินพคุณ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
“ร้อยความดี พันดวงใจ” เอสเอสไอ อาสา ความดีที่ 2 สร้างสนามตะกร้อ ณ บ้านกลางนา ม.6 ต.แม่รำพึง
บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ จัดโครงการ “ร้อยความดี พันดวงใจ” เอสเอสไอ อาสา ความดีที่ 2 ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ โดยช่วยกันสร้างสนามตะกร้อ ณ บ้านกลางนา ม.6 ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นสถานที่การออกกำลังกายสำหรับเยาวชนและคนในชุมชนในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีขึ้นของคนในชุมชน
“ร้อยความดี พันดวงใจ เอสเอสไออาสา”
หลักการและเหตุผล
จากการสำนักประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ได้จัดทำโครงการ “เอสเอสไอ อาสา” โดยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน ด้วยการนำพนักงาน ออกไปร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ร่วมกับชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 ครั้งด้วยกัน มีพนักงานเข้าร่วมกว่า 900 คนและชุมชนเข้าร่วมกว่า 2,000 คน เป็นการแสดงถึงจิตสำนึกที่ดีของพนักงาน ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน
รูปแบบของการจัดโครงการ “เอสเอสไอ อาสา” แต่เดิม จะเป็นการดำเนินการของสำนักประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์เพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น พนักงานสามารถมีส่วนร่วมเพียงแค่การเข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ทำให้พนักงานสามารถเข้าใจถึงรูปแบบกิจกรรมได้เป็นอย่างดี รวมถึงการสร้างสมประสบการณ์ร่วมกันในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนในองค์กร
ดังนั้น ในการพัฒนาโครงการ “เอสเอสไอ อาสา” ให้มีความยั่งยืน จำเป็นต้องให้พนักงาน เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการครั้งต่อ ๆ ไป ตั้งแต่เริ่มต้น โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจในงานมากขึ้น เพื่อให้พนักงานเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของกิจกรรม สร้างความผูกพันกับองค์กรให้มากขึ้น จึงเกิดโครงการ “ร้อยความดี พันดวงใจ เอสเอสไออาสา” เพื่อจัดรูปแบบกิจกรรมจิตอาสา ของแต่ละหน่วยงาน เป็นโครงการจิตอาสาย่อย ๆ ขึ้นภายในหน่วยงานของตน โดยมีงบประมาณสนับสนุบจากองค์กร ซึ่งคาดหวังว่าจะทำให้ความมีจิตอาสาของพนักงาน ได้ซึมซาบเข้าถึงยังพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น และสามารถมีส่วนร่วมกับองค์กรในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างยั่งยืน อันเป็นการสร้างนวัตกรรมแห่งค่านิยมด้วยจิตสำนึกของพนักงานในองค์กรที่สามารถแบ่งปันให้กับสังคมและชุมชนได้ต่อไป
วิธีดำเนินการและ ระยะเวลาดำเนินการ
การดำเนินโครงการ “ร้อยความดี พันดวงใจ เอสเอสไออาสา” จะป็นโครงการจิตอาสาย่อย จัดต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้แต่ละฝ่ายเสนอโครงการเข้ามา โดยมีงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมครั้งละ 20,000 บาท ซึ่งโครงการจะต้องผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการโครงการจิตอาสาก่อน แล้วจึงมอบงบประมาณให้กับโครงการที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอมา
วัตถุประสงค์
1. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและองค์กร
2. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน และเสริมสร้างความร่วมมือของพนักงานในการร่วมพัฒนาถิ่นฐานที่อาศัย
3. เสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีของพนักงานบริษัทฯในการทำประโยชน์และร่วมพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
เอสเอสไออาสา # 12 สร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา (เอสเอสไอ ห้วยทรายขาว ร่วมใจ)
เอสเอสไอ อาสา# 12 สร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา
(เอสเอสไอ ห้วยทรายขาว ร่วมใจ)
บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ จัดโครงการเอสเอสไอ อาสาครั้งที่ 12 นำโดย นายนาวา จัรทรสุรคน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยผู้บริหาร พนักงาน ชาวบ้านในพื้นที่ สร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา (เอสเอสไอ ห้วยทรายขาว ร่วมใจ) โดยได้รับเกียรติจาก นายถวิล ฉันทาวรานุรักษ์ ปลัดอาวุโสอำเภอบางสะพานนายถวิล ฉันทาวรานุรักษ์ ปลัดอาวุโสอำเภอบางสะพาน เป็นประธานเปิดโครงการ ณ ศาลาอเนกประสงค์ ม.5 ต.กำเนิดนพคุณ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
โครงการเอสเอสไออาสานี้ นับเป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สังคมบางสะพานให้น่าอยู่ พร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งนับเป็นพันธกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของบริษัทฯ ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนโครงการเหล่านี้ต่อไปในอนาคต
รวมพลคนใจดี ส่งท้ายปี 2553: เอสเอสไออาสา # 11 ร่วมก่อสร้างโรงเรือนธนาคารขยะเอสเอสไอในสถานศึกษา
รวมพลคนใจดี ส่งท้ายปี 2553: เอสเอสไออาสา # 11 ก่อสร้างโรงเรือนธนาคารขยะเอสเอสไอ โรงเรียนบ้านมรสวบ
บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือเอสเอสไอ จัดโครงการจิตอาสาพนักงาน “เอสเอสไอ อาสา” ครั้งที่ 11 นำโดยคุณนาวา จันทนสุรคน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ร่วมด้วยพนักงานบริษัท ครู นักเรียน และชาวบ้านในพื้นที่ ช่วยกันก่อสร้างโรงเรือนธนาคารขยะ เอสเอสไอ ให้แก่โรงเรียนบ้านมรสวบ พร้อมทั้งขุดลอกและเทปูนทางระบายน้ำ ก่ออิฐบริเวณเสาธงโรงเรียน และปรับภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ำมรสวบ โดยโรงเรียนบ้านมรสวบเป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ธนาคารขยะ เอสเอสไอ ปี 2553 โดยมี นายประดิษฐ์ ศรีสินสมุทร ปลัดอำเภอบางสะพานให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนในท้องถิ่นมีความเข้าใจโดยสามารถแยกประเภทขยะและวิธีกำจัดขยะได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งสามารถจัดการกับขยะที่นำหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างถูกวิธี
เอสเอสไออาสา 10 # รวมพลพรรค คนรักอาสา ร่วมกัน เทปูน ศาลาการเปรียญ วัดชะม่วง
รวมพลพรรค คนรักอาสา ร่วมกัน เทปูน ศาลาการเปรียญ วัดชะม่วง
กลับมาอีกครั้งกับ โครงการดีๆ อย่าง เอสเอสไอ อาสา ซึ่งครั้งนี้ก็เป็น ครั้งที่ 10 แล้วที่เรานำคณะผู้บริหารและเพื่อนๆ พนักงานของเอสเอสไอ ร่วมกันพัฒนาสาธารณประโยชน์ให้กับชุมชนของเรา และครั้งนี้ก็เช่นเคยเป็นการรวมพล คนอาสา เพื่อช่วยกันปรับพื้น และเทปูน ศาลาการเปรียญ ขนาด 540 ตารางเมตร ทาสีศาลาหลวงปู่ชม และทาสีห้องน้ำ รวมทั้งผสมกองปุ๋ยอินทรีย์ของโรงเรียนบ้านชะม่วงอีกด้วย โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ วันที่ 23-25 ก.ย.53 ซึ่งแต่ละวันของการเตรียมงานมีทั้งชาวพนัก เอสเอสไอ และชาวบ้านในพื้นที่มาช่วยกันเป็นจำนวนมาก ทำให้งานแล้วเสร็จก่อนกำหนด ในวันเปิดงานจึงต้องขยายงานอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนพนักงานที่ร่วมอาสาในครั้งนี้ โดยในแต่ละวันชาวบ้านชะม่วงก็จัดเตรียมเครื่องดื่มและอาหารกลางวันไว้คอยบริการเหล่าชาวอาสาอย่างครบครัน อีกทั้งยังนำเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่พอจะหาได้ ไม่ว่าจะเป็น จอบ ปุ๋งกี๋ ถังปูน มาไว้ให้ได้ใช้งานกัน แสดงให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องชาวชะม่วง และน้ำจิตน้ำใจที่มีต่อ คนอาสา ซึ่งคนที่ลงแรงได้ก็ช่วยกันอย่างขมักเขม้น ทำให้งานเสร็จเร็วกว่ากำหนด ถือการแสดงพลังอันเข้มแข็งของพี่น้องชาวชะม่วงจริงๆ เอาเป็นว่าพลังสามัคคีของพี่น้องชะม่วงไม่ได้น้อยกว่าพลัง ของ ชาวเอสเอสไอ อาสา เลย
ศาลาการเปรียญ ณ วัดชะม่วง แห่งนี้สร้างขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวบ้านในพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะพนักงานบริษัทที่อยู่ในพื้นที่จำนวนหลายคนซึ่งล้วนแต่อยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องการให้บริษัทเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาและทำประโยชน์เพื่อท้องถิ่น เพราะฉะนั้นเราเหล่าพลพรรครักการอาสา ไม่ไปไม่ได้แล้ว นอกจากเป็นโอกาสดีที่ชาว เอสเอสไอ จะได้ร่วมกันทำประโยชน์เพื่อชุมชน แล้วก็ยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงพุทธศาสนาได้อีกทางหนึ่งด้วย
Do D in a Day : ช่วยคนตาบอดได้อ่านหนังสือ..!
ร่วมแรงร่วมใจ..ช่วยคนตาบอดได้อ่านหนังสือ ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ผลิตต้นฉบับตาดี ดำเนินการโดย ชาวเอสเอสไออาสา
- ส่งรายชื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ
- ขอรับหนังสือต้นฉบับ เพื่อจัดพิมพ์ข้อความในหนังสือลงใน Microsoft Word
- พิสูจน์อักษรที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ที่เรียกว่าต้นฉบับตาดี (อ่านโดยคนตาดี) เทียบกับหนังสือต้นฉบับที่รับไป
- ส่งมอบต้นฉบับตาดี และหนังสือต้นฉบับให้แก่ ผู้ประสานงานโครงการ (สำนักประชาสัมพันธ์ฯ) ภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 เพื่อส่งมอบให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศน์เพื่อคนตาบอด ต่อไป (จบขั้นตอนของพลเมืองอาสา)
** สำหรับผู้สนใจร่วมบริจาคหนังสือ เพื่อผลิตเป็นหนังสือเบรลล์ กรุณาส่งรายชื่อหนังสือมาที่สำนักประชาสัมพันธ์ฯ เพื่อตรวจสอบรายชื่อว่าซ้ำกับที่มีอยู่ในห้องสมุดแล้วหรือไม่..!!
ขั้นตอนที่ 2 ผลิตต้นฉบับตาบอด ดำเนินการโดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศน์เพื่อคนตาบอด
- แปลง File Microsoft Word ที่ได้เป็นอักษรเบรลล์
- ปริ้นข้อความเป็นอักษรเบรลล์เพื่อพิสูจน์อักษรต้นฉบับตาบอด (อ่านโดยคนตาบอด)
- ตรวจสอบข้อความที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่โดยละเอียดในรูปแบบที่เป็นอักษรเบรลล์เพื่อความถูกต้อง
- ผลิตเป็นฉบับสมบูรณ์เข้าเล่ม และนำเข้าชั้นหนังสือในห้องสมุดคนตาบอดพร้อมให้บริการยืมอ่าน
*******************************
สมัครเข้าร่วมกิจกรรม
มาแบบเดี่ยว
- แจ้งรายชื่อมาที่ rungkanp@ssi-steel.com
มาแบบคู่
- จับคู่เพื่อนให้ได้ 2 คนหรือมากกว่า ส่งรายชื่อมาที่ rungkanp@ssi-steel.com
มาแบบไหนก็ทำเหมือนกัน..
- เลือกหนังสือต้นฉบับที่ต้องการพิมพ์ ตามรายชื่อที่มีอยู่ (สามารถพิมพ์ได้มากกว่า 1 เล่ม / 1 คน / กลุ่ม)
- ใช้เวลาว่างพิมพ์ข้อความในหนังสือที่ได้รับมอบหมายลงใน Microsoft word ให้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ต้องเน้นตัวหนา ตัวบาง และตัวเอียง เพียงย่อหน้าและเว้นวรรคให้ถูกต้องก็พอแล้วค่ะ
- ตรวจพิสูจน์อักษรที่พิมพ์ขึ้นใหม่เทียบกับหนังสือต้นฉบับ ให้มั่นใจว่าถูกต้องชัวร์ ๆ เพื่อผู้พิการทางสายตาจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
- ส่งคืนหนังสือต้นฉบับและข้อความที่พิมพ์ขึ้นใหม่ ให้สำนักประชาสัมพันธ์ฯ ภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553
- เตรียมตัวไปส่งมอบด้วยกันในวันที่ 18 ธันวาคม 2553 * (กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
*********************************
รายชื่อหนังสือที่น่าสนใจ เลือกมาจากหนังสือขายดีของแต่ละสำนักพิมพ์
ประเภท สารคดี / ปรัญญาชีวิต
- ชุดรู้รอบโลก ตอน ประวัติศาสตร์น่ารู้
- ชุดรู้รอบโลก ตอน โลกของสัตว์
- แนวทางแห่งความสุข ดร.อาจอง ณ อยุธยา
- ปีติ (ต้นกล้าแห่งปัญญา)
ประเภท วรรณกรรมรางวัลซีไรต์ / วรรณกรรมเยาวชน
- 2075 สงครามพันธุ์อัจฉริยะผู้เขียน : นทธี ศศิวิมล
- เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์ ผู้เขียน สาคร พูนสุข รางวัลยอดเยี่ยมรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ประเภทวรรณกรรมเยาวชน ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553
- เด็กชายในเงา เขียนโดย ตวงทิพ ยุวชิต
- ความสุขของกะทิ ตอน ในโลกใบเล็ก เขียนโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ
- เราหลงลืมอะไรบางอย่าง (รางวัลซีไรท์ ปี 2551) ผู้แต่ง : วัชระ สัจจะสารสิน
- ชีวิตไม่ได้มีไว้ให้ยอมแพ้ ผู้เขียน ลูกปัด
- คุณครูมหัศจรรย์ ผู้เขียน จันทร์เจ้า
- เจ้าหญิงน้อย A Little Princess แปลโดย : เนื่องน้อย ศรัทธา
- ผจญภัยโพ้นทะเล แปลโดย สุมนา บุณยะรัตเวช
ประเภท ท่องเที่ยว
- WE Love BKK
- รักจัง ปางอุ๋ง
*******************************
โครงการ เอสเอสไอ อาสา ครั้งที่ 9 สร้างแปลงเกษตรอินทรีย์ปลูกพืชไร้ดิน โรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์และโรงเรียนบ้านสวนหลวง
น้ำใจ หมายถึง ผัก
หลายคนมองว่ากิจกรรมเอสเอสไออาสานี้ เป็นโครงการเล็ก ๆ เพราะจำนวนเอสเอสไออาสาที่เข้าร่วมในแต่ละวันมีเพียงประมาณ 30-40 คน แต่เมื่อลงลึกไปถึงหน้างาน โดยเฉพาะวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2553 ต่างกลับประสานเสียงกันว่า “ ได้เรื่องเหมือนกัน” ไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน แต่ผลลัพธ์ของน้ำใจ เอสเอสไออาสาครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 14-19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่สร้างความภูมิใจในการทำความดีสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาสากว่า 262 คน ที่ได้ร่วมกับ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ร่วมกันสร้างแปลงผักปลูกพืช ขนาด 1*4 เมตร ให้กับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการยุวเกษตรอินทรีย์ปลูกพืชไร้ดิน จำนวน 7 โรงเรียน ๆ ละ 6 แปลง เนื่องจากแปลงปลูกเดิมซึ่งเป็นแหล่งอาหารกลางวันที่ไร้สารพิษเจือปนของน้องๆ แต่ละโรงเรียนมีสภาพทรุดโทรม ไม่สามารถปลูกรุ่นต่อไปได้อีก ซึ่งการปรับปรุงแปลงแบบเดิมต้องใช้ต้นทุนสูง และเพื่อลดต้นทุนในการก่อสร้างแปลงปลูกใหม่ จึงต้องเปลี่ยนแบบของแปลงปลูกพืช เพื่อให้มีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น ทั้งที่ โรงเรียนอนุบาลบางสะพาน มัธยมนพคุณ บ้านห้วยทรายขาว บ้านดอนสำราญ บ้านสวนหลวง และ โสตศึกษาเทพรัตน์
ตอนนี้ ผักรุ่นใหม่ของน้องๆ มีที่อยู่ที่คงทน เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ใกล้ชายทะเลอย่างบางสะพาน บ้านเราวันไหนผักของน้องๆมีเหลือเผื่อ เราจะได้เห็นตลาดผักเล็กๆที่หน้าโรงงานของเราอีกครั้ง
นั่นหมายถึง อาหารกลางวันของน้องๆ ที่สามารถแปรเป็นรายได้กลับสู่โรงเรียนได้อีกทางหนึ่งด้วย